page 1 2 3

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หน้า 3





@ ฟุตบอล
ประวัติกีฬาฟุตบอล


ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติกาการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431

วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆเข้ามาสู่เมืองกอล(Gaul)อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ
วิวัฒนาการของฟุตบอล
ภาคตะวันออกไกล ขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ"กังฟู"เกี่ยวกับกีฬาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้าและศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล) มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า"ซือ-ซู" (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่องผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ภาคตะวันออกกลาง ในกรุงโรมความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงครามโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมันและชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิดของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลางในการเล่นฮาร์ปาสตัมขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอแต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสองคือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอลซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมายอันเป็นข้อห้ามของพระเจ้าจึงมีพระบรมราชโองการในนามของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอล ในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร)ในปีพ.ศ.2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้นมีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้าง ขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80100หลา(7391เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนามซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน ห่างกัน 2-3 ฟุต
ในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Alice คือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบและกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คนในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่นรักษาประตู 2 คน โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ ประเทศอังกฤษ และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอนเพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ซึ่งถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่า Association ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American footballภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรปในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัครในปีพ.ศ.2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคม หรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7 เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมากกีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามาก การเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาล กีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตามของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่ มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะในบริเวณที่เคยเป็นสนามรบ และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะของพวกเคนส์ อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจคนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้ คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมากต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่น เทคนิคการเล่น ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่น แต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวันโชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday) จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมากในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจากการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฎของสมาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2412 ระหว่างทีมรัตเกอร์กับทีมบรินท์ตัน จากนั้นกิจการฟุตบอลได้เจริญขึ้นช้าๆ ในต่างจังหวัดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการตั้งสมาคมฟุตบอลต่างจังหวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และมีการฝึกสอนในปี พ.ศ. 2484ในทวีปเอเชีย อินเดียเป็นประเทศแรกที่เริ่มเล่นฟุตบอล ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยกัลกัตตา เป็นผู้นำสำเนากฎหมายการเล่นมาเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2426 และในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรก ในทวีปซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นฟุตบอล กีฬาชนิดนี้ก็ได้เริ่มมีการเล่นมาก่อนร่วมร้อยปีแล้ว เช่นสมาคมฟุตบอลแห่งนิวเซาท์เวลส์ ได้ถูกตั้งขึ้นในออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2425 และสมาคมฟุตบอลของนิวซีแลนด์ได้ถูกตั้งขึ้นหลังจากนั้น 9 ปีในแอฟริกา สมาคมระดับชาติแห่งแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ แต่อียิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการแข่งขันระดับชาติในปี พ.ศ. 2467 คือ 3 ปี หลังจากที่ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้น และอียิปต์สามารถเอาชนะฮังการีได้ 3-0 ในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีสการแข่งขันระดับชาติเป็นการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 และในปีแรกของศตวรรษที่ 20 โดยประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2447 กลุ่มประเทศต่างๆ ในแถบนี้ได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติขึ้น ในครั้งแรกก่อนการจัดตั้งสหพันธ์ 20 วัน สเปนและเดนมาร์กไม่เคยร่วมการแข่งขันระดับชาติมาก่อน และ 3 ประเทศใน 7 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมยังไม่มีสมาคมฟุตบอลในชาติของตน แต่ฟีฟ่าก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยมา โดยมีสมาชิก 5 ชาติ ในปี พ.ศ. 2481 และ 73 ชาติ ในปี พ.ศ. 2493 และในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 146 ประเทศ ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของฟีฟ่า ทำให้ฟีฟ่าเป็นองค์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกสมาพันธ์ประจำทวีปของสมาคมฟุตบอลแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ Conmebol ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของอเมริกาใต้ สมาพันธ์นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อจัดตั้งเพื่อจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศภายในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2460 เกือบครึ่งศตวรรษ ต่อมาเมื่อการแข่งขันภายในทวีปได้แพร่หลายมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ในทวีปอื่นๆ ขึ้นอีกคือสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งในทวีปเอเชีย และ 2 ปี ก่อนการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Concacaf)หรือสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอเมริกากลาง อเมริกาเหนือ และแคริบเบี้ยน ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และน้องใหม่ในวงการฟุตบอลโลกคือ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งโอเชียนเนีย (Oceannir)
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA) ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ 1. Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น2. America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น3. South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย เป็นต้น4. Asia (A.F.C.)เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน และเนปาล เป็นต้น5. Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮังการี อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น6. Oceannir เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาท
สหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
ในทวีปเอเชียมีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (A.F.C.) เพื่อดำเนินการด้านฟุตบอล ดังนี้พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศในเอเชียเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย จึงได้ปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขึ้นพ.ศ. 2497 มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มตั้งคณะกรรมการจากชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 12 ประเทศพ.ศ. 2501 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก และมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกรวมเป็น 35 ประเทศพ.ศ. 2509 ฟีฟ่าได้มองเห็นความสำคัญของ A.F.C. จึงได้กำหนดให้มีเลขานุการประจำในเอเชีย โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด รวมทั้งเงินเดือน และคนแรกที่ได้รับตำแหน่งคือ Khow Eve Turkพ.ศ. 2517 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ที่เตหะราน ประเทศอิหร่านได้มีการประชุมประเทศสมาชิก A.F.C. และที่ประชุมได้ลงมติขับไล่อิสราเอล ออกจากสมาชิก และให้จีนแดงเข้าเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่จีนแดงไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า นับว่าเป็นการสร้างเหตุการณ์ที่ประหลาดใจให้กับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองพ.ศ. 2519 มีการประชุมกันที่ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าประเทศสมาชิกได้ลงมติให้ขับไล่ประเทศไต้หวันออกจากสมาชิก และให้รับจีนแดงเข้ามาเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่ไต้หวันเป็นประเทศที่ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมา
งานของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย 1. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Cup 2. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Youth 3. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก 4. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Pre-Olympic 5. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม World Youth 6. ควบคุมการแข่งขัน Kings Cup, President Cup, Merdeka, Djakarta Cupนอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฟีฟ่าจัดส่งวิทยากรมาช่วยดำเนินการ
สรุปวิวัฒนาการของฟุตบอล ก่อนคริสตกาลอ้างถึงการเล่นเกมซึ่งเปรียบเสมือนต้นฉบับของกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่ได้มีการค้นพบจากการเขียนภาษาญี่ปุ่น-จีน และในสมัยวรรณคดีของกรีกและโรมันยุคกลาง - ประวัติบันทึกการเล่นในเกาะอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส ปี พ.ศ. 1857 - พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามเล่นฟุตบอล เพราะจะรบกวนการยิงธนู ปี พ.ศ. 2104 - Richardo Custor อาจารย์สอนหนังสือชาวอังกฤษกล่าวถึงการเล่นว่า ควรกำหนดไว้ในบทเรียนของเยาวชน โดยได้รับอิทธิพลจากการเล่นกาลซิโอในเมืองฟลอเร้นท์ ปี พ.ศ. 2123 -Riovanni Party ได้จัดพิมพ์กติกาการเล่นคาลซิโอ ปี พ.ศ. 2223 -ฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระเจ้าชาร์ลที่ 2 ปี พ.ศ. 2391 -ได้มีการเขียนกฎข้อบังคับเคมบริดจ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. 2406 -ได้มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ปี พ.ศ. 2426 -สมาคมฟุตบอลจักรภพ 4 แห่ง ยอมรับองค์กรควบคุม และจัดตั้งกรรมการระหว่างชาติ ปี พ.ศ. 2429 -สมาคมฟุตบอลเริ่มทำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน ปี พ.ศ. 2431 -เริ่มเปิดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพ และเพิ่มอำนาจการควบคุมให้ผู้ตัดสิน ปี พ.ศ. 2432 -สมาคมฟุตบอลส่งทีมไปแข่งขันในต่างประเทศ เช่น เยอรมนี ไปเยือนอังกฤษ ปี พ.ศ. 2447 - ก่อตั้งฟีฟ่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 โดยสมาคมแห่งชาติ คือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ปี พ.ศ. 2480 - 2481 -ข้อบังคับปัจจุบันเขียนขึ้นตามระบบใหม่ขององค์กรควบคุม โดยใช้ข้อบังคับเก่ามาเป็นแนวทาง




@ มวยไทย
ประวัติกีฬามวยไทย

มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเชิงกีฬาและการต่อสู้จริง ๆ ศิลปะประเภทนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและป้องกันชาติ บรรดาชายฉกรรจ์ของไทยได้รับการฝึกฝนวิชามวยไทยแทบทุกคน นักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนอบรมศิลปะประเภทนี้อย่างชัดเจนทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธรบในสมัยโบราณเช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทยประกอบด้วยแล้ว จะทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าสู้ติดพันประชิดตัวก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะบางส่วนเข้าช่วย เช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดิมมาศิลปะมวยไทยที่มีชั้นเชิงสูงมักจะฝึกสอนกันในบรรดาเจ้านายชั้น ผู้ใหญ่หรือเฉพาะพระมหากษัตริย์และขุนนางฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปถึงสามัญชน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากบรรดาอาจารย์ ซึ่งเดิมเป็นยอดขุนพล หรือนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลายและคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้

มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวแต่แตกต่างไปจากมวยสากล คือนอกจากจะใช้หมัดชกคู่ต่อสู้แล้ว ยังสามารถใช้เท้าและศอกต่อสู้ได้อีก การใช้หมัดชกในแบบมวยไทย นอกจากจะมีการชกตรง ชกฮุก และอัปเปอร์คัท เหมือนกับแบบมวยสากลแล้ว มวยไทยยังมีการชกแบบหมุนตัว เหวี่ยงหมัดกลับถ้าคู่ต่อสู้ไม่ได้จ้องดูและไม่ก้มศีรษะลง มักจะถูกหมัดเหวี่ยงกลับของคู่ต่อสู้ถึงกลับน้อกเอ๊าท์ได้ หมัดเหวี่ยงกลับเป็นหมัดหนึ่งคล้ายกับหมุนตัวเหวี่ยงหมัดกลับ แต่ใช้ข้อมือหรือหลังมือทุบหรือต่อสู้ นักมวยไทยทั่ว ๆ ไปยังใช้วิธีการตามแบบชกตามแบบเหล่านี้อยู่และนอกจากนั้นยังใช้อวัยวะอย่างอื่นช่วยได้อีกหลายวิธี เช่น ใช้เท้า เตะต่ำ เตะสูง เตะตรง และถีบ ซึ่งจะใช้ทั้งปลายเท้าฝาเท้า หลังเท้าและส้นเท้า นักมวยไทยมีความชำนาญมากในการใช้เท้า ส่วนใหญ่เป็นการเตะและถีบ ส่วนการใช้เข่า นักมวยไทยก็ใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น กระโดดตีเข่า นอกจากนั้นยังรู้จักใช้ศอกซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอย่างยิ่ง วิธีตีศอกก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน คือ ศอกตี หมายถึงกดปลายศอกลง โดยแรง ศอกตัด คือเหวี่ยงศอกขนานกับพื้น ศอกงัด คือ งัดปลายศอกขึ้นหรือยกปลายศอกขึ้น ศอกพุ่ง คือ พุ่งศอกออก ไปยังคู่ต่อสู้ ศอกกลับ คือ การหมุนตัวกลับพร้อมกับตีศอกตามแบบต่าง ๆ ไปด้วย
การชกมวยไทยในสมัยโบราณเป็นการต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว ต่อสู้กันจริง ๆ และหวาดเสียวตื่นเต้นมากกว่าสมัยนี้ นักมวยสมัยเก่าต้องใช้ด้ายดิบชุบแป้งให้แข็ง มักเล่ากันว่าใช้น้ำมันชุบเศษแก้ว เพื่อให้มีพิษสงยิ่งขึ้น แต่ก็ได้มีผู้คัดค้านว่าไม่เป็นความจริงที่จริงนั้นคือไปเอาด้ายผูกศพพันมือ ซึ่งมีน้ำเหลืองติดเป็นเหมือน ๆ แป้งชุบเศษแก้ว ทั้งนี้เพราะต้องการความขลัง ชนะคู่ต่อสู้ได้ในทางจิตใจมากกว่า ด้ายสายสิญจน์เป็นเส้นขนาดดินสอดำ พันมือตั้งแต่สันมือถึงข้อศอก และพันรัดเป็นปมทางด้านหลังของข้อมือ ( สันหมัด ) เป็นรูปก้นหอยเรียกว่า “ คาดเชือก ” ซึ่งไม่มีการสวมนวมเหมือนๆ อย่างสมัยปัจจุบัน ฉะนั้นก็แน่นอนทีเดียวว่าจะทำให้เลือดซึมออกมาทันที ในสมัยก่อนเมื่อครั้งยังไม่มีกติกาข้อห้ามมากนักกับทั้งไม่รัดกุมเหมือนสมัยปัจจุบัน นักมวยทั้งสองฝ่ายจะต้องต่อสู้กันอย่างระมัดระวังศีรษะก็ใช้ชนคู่ต่อสู้เพียงแต่ห้ามกัดกันเท่านั้น ต่อมาได้แก้ไขปรับปรุงกติกาการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
การแข่งขันมวยไทยในปัจจุบันนี้ นักมวยต้องสวมนวมขนาด 4 ออนซ์ และแต่งกายแบบนักกีฬามวย คือ สวมกางเกงขาสั้น สวมกระจับ ส่วนผู้ใดจะสวมปลอกรัดข้อเท้าและจะมีเครื่องรางของขลังผูกไว้ที่แขนท่อนบนก็ได้ ในการแข่งขันมีผู้ตัดสินชี้ขาดบนเวที 1 คน มีผู้ตัดสินให้คะแนนอยู่ข้างเวที 2 คน มีผู้จับเวลา 1 คน และมีแพทย์ประจำเวที 1 คน จำนวนยกในการแข่งขัน ทั้งหมดมี 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที การแข่งขันแบ่งเป็นรุ่นตามน้ำหนักของนักมวยเหมือนกับหลักเกณฑ์ของนักมวยสากล ผู้ตัดสินมีอำนาจหน้าที่ตามกติกาการแข่งขัน อวัยวะที่ใช้ในการแข่งขันได้ คือ หมัด เท้า เข่า และศอก เข้าชก เตะ ถีบ ทุบ ถอง ตี ฯลฯ ได้ทุกส่วนของร่างกายโดยไม่จำกัดที่ชก
ก่อนการแข่งขันนักมวยทั้งสองจะทำการไหว้ครูและร่ายรำ คือ กราบสามครั้งเพื่อระลึกถึงบิดามารดา ครูบาอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ ตลอดจนขอคุณพระศรีรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาช่วยคุ้มครองตน และขอให้ได้ชัยชนะด้วยความปลอดภัยในที่สุด แล้วจึงร่ายรำไปรอบ ๆ เวทีตามแบบฉบับของครูที่ได้สอนไว้ให้โดยตลอด นักมวยทุกคนจะสวม “ มงคล ” ที่ศีรษะมงคลนี้ทำด้วยเส้นด้ายดิบหลายเส้นรวมกันแล้วพันหุ้มด้ายผ้าโตขนาดนิ้วมือ ทำเป็นรูปวงเพื่อสวมศีรษะ การสวมมงคลไว้ก่อนแข่งขันนี้เป็นขนบธรรมเนียมของประเพณีไทยถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งครูอาจารย์ได้ทำพิธีปลุกเสกและให้ความเป็นสิริมงคลไว้แก่ตน ฉะนั้น นักมวยจะสวมมงคลไว้ตลอดเวลาที่ทำการไหว้ครูและร่ายรำ และจะถอดออกจากศีรษะได้ในเมื่อจะเริ่มการแข่งขัน ในระหว่างการไหว้ครูและร่ายรำนั้นจะมีดนตรีบรรเลงประกอบตามทำนองดนตรีไทยเป็นจังหวะช้า ๆ เครื่องดนตรีเหล่านั้นได้แก่ ปี่ชวา 1 กลองแขก 2 และฉิ่ง 1 เมื่อถอดมงคลออกแล้ว กรรมการผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยทั้งสองมาจับมือกัน ซึ่งเป็นการแสดงถึงการมีน้ำใจเป็นนักกีฬาพร้อมกันนั้นก็จะตัดเตือนกติกาสำคัญๆ อันเกี่ยวกับการแข่งขันให้นักมวยทั้งสองได้ทราบครั้นเมื่อการต่อสู้ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังแล้ว ดนตรีก็บรรเลงในทำนองเร่งเร้าให้นักมวยทั้งสองเกิดความรู้สึกฮึกเหิมและมุ่งเข้าต่อสู้กันอย่างดุเดือด การร่ายรำและต่อสู้โดยมีดนตรีประกอบนั้น นอกจากจะถือว่าเป็นศิลปะแล้วยังเป็นประเพณีอันดีงามของชาวไทยมาแต่โบราณกาลจนไม่อาจจะทิ้งให้สูญหายไปเสียได้
ในปัจจุบัน การแข่งขันมวยไทยเป็นกีฬาอาชีพโดยสิ้นเชิง เฉพาะในกรุงเทพฯมีการแข่งขันเป็นประจำเกือบทุกวัน ๆ 2 รอบก็มี สำหรับการควบคุมมวยอาชีพขึ้นอยู่กับกฎข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยและไม่มีสมัครเล่นมวยสากลที่มิใช่อาชีพก็มีเพียงการฝึกสอนในสถาบันการพลศึกษา เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อมิให้ศิลปะมวยไทยสูญหายไปและเพื่อรักษาไว้ซึ่งการกีฬาประจำชาติอันเป็นศิลปะในการต่อสู้ชาวต่างประเทศที่มีโอกาสได้มาท่องเที่ยวในประเทศไทยก็มักจะไม่ยอมพลาดโอกาสที่ไปชมการแข่งขันมวยไทยจะต้องพยายามเข้าชม แข่งขันมวยไทยให้ได้ ปรากฏว่าเป็นที่สนใจของชาวต่างประเทศมาก เพราะมวยไทยมีวิธีการชกที่แปลกที่สุดในโลก และยิ่งกว่านั้นนักมวยไทยยังได้เคยเดินทางไปแสดงในต่างประเทศหลายครั้งจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไป


@ มวยปล้ำ

ประวัติกีฬามวยปล้ำ


มวยปล้ำ (Wrestling) เป็นกีฬาที่เก่าที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการใช้อาวุธ เช่น หอก ขวาน หรือธนู เพื่อเอาไว้สู้กับสัตว์ร้ายนั้นมนุษย์จะต้องฝึกหัดมวยปล้ำไว้เพื่อป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายหรือพวกมนุษย์ด้วยกันเอง อย่างไรก็ตาม มวยปล้ำที่กล่าวนี้แตกต่างไปจากมวยปล้ำในปัจจุบัน เพราะไม่ใช่กีฬาฝึกในเวลาว่าง หรือเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ในสังคม มวยปล้ำสมัยแรกเริ่มนั้นฝึกกันเพื่อความอยู่รอดในการดำรงชีวิต ทั้งชีวิตของตัวเองและชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ยิ่งกว่านั้นมวยปล้ำยังช่วยให้สามารถหาอาหารได้ เมื่อมนุษย์เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากไฟ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการทำเครื่องมือจากโลหะ บทบาทของมวยปล้ำก็เปลี่ยนไป มวยปล้ำกลายเป็นสิ่งที่ให้ความบันเทิง ผู้ชายจะมาเล่ามวยปล้ำเพื่อทดสอบความแข็งแรง และเพื่อจะเป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุดในกลุ่มเสมอ โดยใช้มวยปล้ำในการคัดเลือกหัวหน้าเผ่าหรือแม่ทัพในการทำสงคราม ผู้ที่ชนะเลิศในการปล้ำ จะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้แข็งแรงที่สุด และได้รับการโห่ร้องแสดงความยินดีจากคนทั่วไปบางครั้งถึงกับประพันธ์เป็นเพลงร้องสรรเสริญ หรือแต่งเป็นตำนานเล่าต่อๆ กันมาหรือสร้างเป็นอนุสาวรีย์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์ต้องเตรีมการต่อสู้ป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายและต้องมีกำลังพอที่จะต้องต่อสู้อย่างเข้มแข็งมวยปล้ำกลายมาเป็นกีฬาเมื่อโลกเข้าสู่ยุคอารยะ โดย S.A. Sperider ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2481 ว่ากีฬามวยปล้ำเริ่มในยุคเมโสโปเตเมียสิ่งที่กล่าวมาแล้วยืนยันได้จากภาพเขียนและภาพแกะสลักรูปมวยปล้ำในท่าต่างๆ มากมายที่ผนังของวิหาร และสุสานเบนิ ฮัสซาน (Beni Hassan) จำนวน 200รูป ในประเทศอียิปต์ภาพเขียนที่ผนังถ้ำก็มีภาพของการปล้ำทางแถบลุ่มแม่น้ำ 2 สาย ก็มีผู้พบรูปมวยปล้ำในวิหารคยาฟาเจ (Kyafaje) ใกล้ๆ กับเมืองแบกแดด ประเทศอิรัก รูปมวยปล้ำที่พบนี้เป็นฝีมือของชาวสุเมเรียน ซึ่งเป็นชนชาติที่หายสาปสูญไปนานแล้ว และที่เกาะครัตก็ได้พบภาพเขียนรูปมวยปล้ำที่แจกันซึ่งมีความเก่าแก่ไม่น้อยกว่า 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราชนอกจากหลักฐานซึ่งเป็นภาพวาด ภาพแกะสลัก หรือรูปหล่อดังที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีพงศาวดาร ตำนาน กาพย์ โคลง หรือเรื่องที่เล่าต่อกันมาเกี่ยวกับมวยปล้ำ เช่นพงศาวดารมวยปล้ำของบาบิโลเนีย และแอสซีเรีย ได้บันทึกไว้ว่ามวยปล้ำมีขึ้นในอาณาจักรทั้งสองนี้มากว่า 2,000 ปีก่อนคริสตศาสนา พงศาวดารดังกล่าวได้พรรณนาไว้ในโคลงเรื่องจิลกาเมซ ซึ่งเป็นนิยาย โบราณที่เล่าถึงการผจญภัยอย่างห้าวหาญของจิลกาเมซ ผู้เป็นพระราชาครองนครอูที่มีรูปร่างสูงใหญ่ถึง 16 ฟุต เดิมเป็นคนเลี้ยงแกะอยู่ใกล้กับนครอู มีนิสัยพาลเกเร พระเจ้าต้องการสั่งสอนให้เขาสำนึกผิด จึงเนรมิตคนป่าชื่อเอ็นกิดูให้มาสู้กับจิลกาเมซ เอ็นกิดูจึงเดินทางรอนแรมไปนครอู และท้าทายให้จิลกาเมซมาสู้กันด้วยเชิงมวยปล้ำ จิลการเมซรับคำท้าทายแล้วมาสู้กันที่ตลาด ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันอย่างดุเดือด แต่ก่อนที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะพ่ายแพ้พระผู้เป็นเจ้าก็ปรากฏตัวออกมาให้เห็น แล้วให้คนทั้งสองคนดีกัน จิลกาเมซและเอ็นกิดูกอดคอกันเป็นเพื่อนตาย แล้วออกพจญภัยไปทั่วอาณาจักรจนกลายมาเป็นพระราชาแห่งนครอูยิวซึ่งเป็นชาติเก่าแก่ที่มีหลักฐานว่าได้เล่นมวยปล้ำในสมัยเดียวกับชาวสุเมเรียน โดยมีหลักฐานยืนยันในโอลดี เทศทาเมนต์ ตอนที่ 32 ภาคเยเนซิสว่า เมื่อยาค็อบถูกละทิ้งไว้เดียวดาย แล้วยาค็อบก็ได้ปล้ำกับชายคนหนึ่งจนถึงรุ่งเช้า ทันใดนั้นศัตรูของยาค็อปก็บันดาลร่างเป็นเทพยดาในมหากาฬย์ของโฮเมอร์ (Homer) ซึ่งนักประวัติศาสตร์ใช้เป็นหลักฐานทำให้ทราบเรื่องราวต่างๆ ของกรีซสมัยประวัติศาสตร์ เพราะตัวเอกของเรื่องมีความสามารถในเรื่องมวยปล้ำ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าถึงนักมวยปล้ำที่ยิ่งใหญ่ของกรีซคือ ไมโล แห่งโครตอน ซึ่งชนะเลิศในโอลิมปิกเกมส์ถึง 5 ครั้ง การฝึกของเขาเป็นที่กล่าวกันว่าเขาแบกลูกวัวไปรอบๆ สนามซึ่งเป็นแบบอย่างเบื้องต้นของการฝึกยกน้ำหนักในปัจจุบัน เพราะลูกวัวจะโตขึ้นเรื่อยๆ เป็นการเพิ่มน้ำหนัก ร่างกายของไมโลก็จะแข็งแรงขึ้น เพื่อที่จะรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของลูกวัวประมาณ 900 ปี ก่อนคริสตศาสนา ราชโอรสของยีอุส กษัตริย์แห่งเอเธนส์ ได้พยายามหามาตรฐานกติกากีฬามวยปล้ำมวยปล้ำทางเอเชียก็เป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณเช่นกันโดยเฉพาะในเอเชียกลาง และเอเชียไกล ตามหลักฐานแสดงว่าภูมิภาคแถบนี้มีการเล่นมาอย่างน้อย 5,000 ปี ที่มองโกเลีย และจีน มวยปล้ำเป็นการแสดงทางพิธีศาสนาตามที่พงศวดารได้บันทึกเป็นหลักฐานว่า การแข่งขันมวยปล้ำในญี่ปุ่นมีก่อนคริสต์ศาสนา ซึ่งมีเรื่องที่เป็นตำนานเล่ากันต่อมา นานมาแล้วพระอาทิตย์ไม่ยอมส่องแสงมายังโลก โดยซ่อนตัวอยู่ในถ้ำลึกที่เต็มไปด้วยความชึ้นแฉะบริเวณภูเขาไฟฟูจิยามา เมื่อมนุษย์ สัตว์ และพืชทั้งหลายขาดแสงอาทิตย์ ก็ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นประชาชนต่างก็เอาของกำนัลที่มีค่า และเครื่องสังเวยต่างๆ มากมายมาบวงสรวงบางพวกก็สวดมนต์อ้อนวอนเพื่อให้พระอาทิตย์เกิดความสงสารจะได้เปลี่ยนความตั้งใจเดิม แต่ทุกสิ่งที่ทำไปก็ไร้ประโยชน์ ความมืดยังปกคลุมโลกอยู่ทั่วไป ในที่สุดก็มีผู้แนะนำให้จัดมวยปล้ำระหว่างผู้ที่แข็งแรงที่สุดของเกาะเพื่อบวงสรวง เพราะทราบว่าพระอาทิตย์สนใจและชอบดูมวยปล้ำ ฉะนั้นซูโม่จึงได้ถูกจัดขึ้นทำให้พระอาทิตย์ไม่สามารถจะทนความยั่วยวนในสิ่งที่ตนชอบในถ้ำได้ จึงออกมาจากถ้ำทำให้มนุษย์ สัตว์ และพืช ได้รับแสงสว่างอีกครั้งหนึ่งส่วนทางอินเดียก็มีการแข่งขันมานานราว 2,000 ปี ที่ตุรกีมวยปล้ำก็เป็นกีฬาประจำชาติแม้กระทั่งปัจจุบันนี้ ตุรกีก็ยังคงนิยมการเล่นมวยปล้ำอยู่ และสามารถครองแชมป์มวยปล้ำในกีฬาโอลิมปิกไว้เสมอในปี 648 ก่อนคริสตศักราช แพนคราตั้น (Pancratun) ก็ถูกนำเข้ามาแข่งขัน ซึ่งแพนคราตั้นสามารถเตะ ต่อย และเหวี่ยงได้ ซึ่งเป็นแบบหนึ่งของมวยปล้ำที่ได้รับความนิยมมาก การแข่งขันครั้งนี้ทำให้การกีฬาตกต่ำ เพราะนำไปสู่กีฬาอาชีพและมีการติดสินบนเพื่อการแพ้ชนะด้วยกีฬามวยปล้ำเริ่มได้รับความสนใจในสมัยกลางอีกครั้งหนึ่ง หลังจากซบเซาในยุคมืดและได้รับความนิยมมากในศตวรรษที่ 18 มีบันทึกเรื่องราวที่กล่าวถึงมวยปล้ำมากมาย รวมทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับการต่อสู้มวยปล้ำระหว่างพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ของอังกฤษ กับพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 ของฝรั่งเศส ที่สนามโคลัช ออฟโกลด์ ซึ่งกีฬามวยปล้ำได้รับความสนใจในส่วนต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะทางตะวันตกของยุโรปสหรัฐอเมริกา และดินแดนที่ชาวยุโรปเข้าไปตั้งหลักแหล่ง มีการจัดชิงแชมเปี้ยนตามภาคพื้นต่างๆ ของโลก มวยปล้ำจึงเป็นกีฬาที่ทำให้เกิดกีฬาการต่อสู้หลายๆ ประเภทในเวลาต่อมามวยปล้ำในกีฬาโอลิมปิก Baron Pia De Coubatin ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ฟื้นฟูกีฬาโอลิมปิกขึ้นมาใหม่ โดยครั้งแรกจัดที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในปี พ.ศ. 2439 แต่มวยปล้ำก็ยังไม่ได้เป็นกีฬาที่ใช้แข่งขัน จนกระทั่งโอลิมปิก ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งจัดที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี่ สหรัฐอเมริกา มวยปล้ำจึงเป็นกีฬาที่อยู่ในการแข่งขันด้วยและมีในการแข่งขันโอลิมปิกเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งการแข่งขันมวยปล้ำในกีฬาโอลิมปิกมีถึง 3 แบบคือ ฟรีสไตล์ เกรโกโรมัน และแซมโบ ดังนั้นเหรียญสำหรับกีฬาประเภทนี้จึงมีถึง 30 เหรียญในเอเชียมวยปล้ำเริ่มเป็นกีฬาในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเจ้าภาพ โดยจัดให้มีการแข่งขัน 2 ประเภทคือ แบบฟรีสไตล์และแบบเกรโกโรมัน ซึ่งการแข่งขันมวยปล้ำในเอเชียนเกมส์ก็ยังคงมีอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน


@ มวยสากล

ประวัติกีฬามวยสากล


มวยเป็นศาสตร์และศิลป์ ที่ว่าเป็นศาสตร์เพราะเป็นวิชาการที่ทุกท่านอาจจะศึกษาหาความรู้ได้ เช่น วิชาแขนงอื่นๆ และที่ว่าเป็นศิลป์ก็เพราะว่า ศิลปะแขนงนี้ช่างมากไปด้วยกลยุทธ์และลวดลายซึ่งยากที่จะเรียนรู้และปฏิบัติไปอย่างเจนจบ ศิลปะอย่างสูงของนักมวยคนหนี่งยากที่นักมวยอีกคนหนึ่งจะพึงปฏิบัติสืบทอดกันต่อไปได้ ดังที่ทุกท่านตระหนักดีอยู่ว่ามวยเป็นศิลปะของการต่อสู้ป้องกันตัวอย่างหนึ่งตามธรรมชาติสืบทอดกันต่อไป ปัจจุบันมีมวยใหญ่อยู่ 2 ชนิดคือ มวยปล้ำ และมวยชก เพื่อนบ้านชกด้วยหมัดอย่างเดียวกัน อันเป็นที่นิยมกันทั่วโลก เรียกว่ามวยสากล

มวยสากลนั้นมีมานานแล้วตามหลักฐานซึ่ง เซอร์ อาเซอร์ อีแวน ได้ค้นพบเศษรูปสลักของนักมวยโบราณซึ่งแยกออกเป็นชิ้น ๆ ในปี ค.ศ. 1900 ที่เมืองบอชชุส อันเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในเกาะครีต ของประเทศกรีช ทางตะวันออกของทะเลเมติเตอร์เรเนียน จากหลักฐานอันนี้ทำให้ทราบว่ามวยโบราณในสมัยกรีช ก่อนคริสตกาล ซึ่งพอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ระยะแรก ในสมัยของ โอมเมอร์ ประมาณ 600 – 300 ก่อนคริสตศักราช สมัยนั้นใช้หนังอ่อน ๆ ยาว 10 – 12 ฟุต พันตั้งแต่ข้อมือถึงข้อศอก จุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องป้องกันมือของผู้ชก กติกาก็มีเพียงเล็กน้อยแต่ยุติธรรม มีความเข้มแข็ง กล้าหาญ ทนทาน และผีมือดี จึงจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญ ระยะที่สอง ระหว่าง 200 – 400 ปีก่อนคริสตศักราช มีการดัดแปลงไปเล็กน้อย คือการพันมือนั้นแน่นและหนักขึ้นกว่าเดิม และเป็นกีฬาที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยนี้ ผู้เข้าแข่งนักกีฬาโอลิมปิกจะต้องเข้าค่ายฝึกอยู่อย่างน้อย 9 เดือน เมื่อจวนถึงวันแข่งขันจริง ก็มีการจับคู่คล้ายๆ กับในปัจจุบัน แข่งขันเวลาเที่ยงวันขณะดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะพอดี ซึ่งบรรยากาศตอนนั้นกำลังหรือล้มลง หรือยอมแพ้ ไม่มีผู้ตัดสินไม่มีการกำหนดน้ำหนัก ส่วนมากจึงมีแต่นักมวยรุ่นที่หนักที่สุด ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่า รุ่นเฮฟวี่เวท ระยะที่สาม ระหว่าง 400 ปีก่อนคริสตศักราช ลงมาจนถึงสมัยโรมันรุ่งเรือง สมัยนี้การชกมวยเป็นการต่อสู้ของพวก GIADIATORS ซึ่งอาจจะตายไปข้างหนึ่ง ต่อมาในราวปื ค. ศ. 394 โรมัน เสื่อมอำนาจลงการชกมวยก็ได้เสื่อมสูญไปด้วย ตอนโรมันเข้ายึดครองอังกฤษ ได้นำเอามวยไปเผยแพร่ในอังกฤษด้วย นักบุญ เบอร์นาด ได้เขียนเรื่องมวยในประเทศอิตาลีไว้อย่างละเอียด ในปี ค.ศ. 1240 ตอนหนึ่งท่านกล่าวว่า มวยเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ฝึกคนให้เป็นอัศวินมวยสากลของอังกฤษ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก ในระหว่างปี ค.ศ. 1698 ถึง 1790 อาจเรียกได้ว่าเป็น “สมัยมงกุฎผีสิง” เนต ในปี ค.ศ. 1740 ได้คำเนินการสอนมา และเป็นบุคคลแรกในปี ค.ศ. 1740 ที่ได้คิดกติกามวยสากลขึ้นจนได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งมวยสากลอังกฤษ ในปีเดียวกัน บรูตัน ก็ได้ประดิษฐ์นวมขึ้นในการชกมวย แต่คงใช้ในการสอนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของลูกผู้ชายเท่านั้น สำหรับมวยอาชีพยังให้มือเปล่าอยู่ อย่างไรก็ดีมวยสมัยนั้นก็ได้ตกทอดมาถึงมวยสากลในปัจจุบันนี้ ต่อมาในปี 1792 แต่เปีย เมนซ่า ได้ครองตำแหน่งผู้ชนะเลิศและได้พยายามรักษาตำแหน่งไว้จนถึงปี 1795 จึงได้เสียตำแหน่งแก่ จอห์น แจ๊คสัน ได้สละตำแหน่งในเวลาต่อมา และเปิดฝึกมวยขึ้นจนมีชื่อเสียง ด้วยมีลูกขุนนางและสุภาพชนมากหน้าหลายตามาสมัครเรียน มวยจึงกลายเป็นศาสตร์ที่เราต่างศึกษากันจนถึงวันนี้ ต่อมาเนื่องจากมีการให้รางวัลเป็นเงินตราแก่นักมวย เงินตราจึงมีอิทธิพลเหนือการแข่งขันโดยได้มีการติดสินบนแก่ผู้จัดการของนักมวย มวยจึงเป็นเครื่องมือหากินของเจ้าของเงินตราไป สมาคมหลายแห่งต้องล้มเลิกในระยะต่อมา วิกฤติการณ์ แห่งวงการนักมวยได้เกิดขึ้นดังนี้ ทางราชการอังกฤษ จึงไม่ร่วมมือด้วยนักมวยเองก็ละเมิดกติกา จึงมีอันตรายเกิดขึ้นเนือง ๆ ในที่สุดวงการมวยสากลของอังกฤษก็เสื่อมลงไประยะหนึ่ง เมื่อวิเคราะห์ดู กติกามวยสากลที่ บรูตัน คิดขึ้นแล้วจะเห็นได้ว่ายังไม่รัดกุม เช่น จำนวนยกที่กำหนดไว้ไม่แน่นอน สักแต่ว่าทำการแข่งขันไปจนกระทั่งนักมวยคนใดคนหนึ่งถูกน็อค หรือถูกเหวี่ยงจนล้มและไม่สามารถจะลุกขึ้นมาต่อสู้ได้อีกในเวลา 30 นาที การฟาวล์มีเพียง 2 ข้อเท่านั้น คือ การชกขณะล้ม และกอดหรือหมัดต่ำกว่าเอว กติกาเหล่านั้นภายหลังได้ชื่อว่า เป็นกติกาเกิดขึ้นใหม่ด้วยความร่วมมือของจอห์น ยี. เชมเบอร์ ในปี ค.ศ.1866 จึงได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไปว่าเป็นกติกาสากลอันเป็นรากฐานของกติกาที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ในกติกาได้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ยก โดย 3 ยกแรกยกละ 3 นาที ยกสุดท้าย 4 นาที การตัดสินก็โดยความเห็นชอบจากฝายข้างมากของผู้ตัดสิน ผู้ใดถูกชกล้มสามารถลุกขึ้นมาต่อสู้ได้อีกภายใน 10 วินาที การชกต้องสวมนวมชกตลอดเวลา ผู้ชี้ขาดต้องอยู่ในสังเวียนเพียงคนเดียว กับนักมวยอีกสองคนเท่านั้น กติกานี้วงการมวยสมัครเล่นนำไปใช้ทันที แต่สำหรับมวยอาชีพได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง เพียงเรื่องจำนวนยก คือจะสู้กันกี่ยกก็ได้แล้วแต่เพิ่มระเบียบการตัดสินและการบันทึกให้รัดกุมยิ่งขึ้นเท่านั้น การใช้นวมเริ่มกันอย่างจริงจังในการชกมวยสากลสมัครเล่น สมัยการใช้กติกา ควีนส์เบอร์ บี ค.ศ. 1860 นี้เอง ก่อนนั้นนิยมการพันมือแทนนวม และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ มาจนถึงสมัยกิจการมวยได้ถูกยกขึ้นเป็นศิลปะ ความจริงการใช้นวมทำให้การชกลดอันตรายลงได้มากและทำให้การชกรวดเร็วน่าดูยิ่งขึ้น ผู้ชกไม่ต้องพะวงถึงอันตรายเกี่ยวกับมือหักหรือเคล็ดอีกต่อไป ในปี ค.ศ. 1882 จอห์น ซัลลิแวน ชาวอเมริกันได้ชกชนะ แพ็คคคี้ ไรอั้น ชาวอังกฤษ และได้รับยกย่องให้เป็นผู้ชนะเลิศแห่งอเมริกัน ในการชกตามกติกามวยชิงรางวัลแห่งกรุงลอนดอน 9 ยก ที่เมืองมิสซิสชิบบี้ ในปี ค.ศ. 1887 แจ็ค คิลเร่น แห่งอเมริกา เสมอกับ เจมส์สมิธ แห่งอังกฤษ และในการแข่งขันคราวนี้เองได้เป็นที่ยอมรับกันว่า ทั้งคู่ได้เป็นผู้ครองเข็มขัดผู้ชนะเลิศแห่งโลกเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1889 จอห์น แอล ซัลลิแวน ได้ชิงตำแหน่งชนะเลิศของโลก จากแจ๊ค คิลเร่น ที่เมืองริชเยอร์ก มลรัฐมิสซิสชิบบี้ ซึ่งเป็นการต่อสู้แบบมือเปล่าครั้งสุดท้ายในอเมริกา เป็นจำนวนถึง 75 ยก ชิลล์แวนผู้เลิศประกาศว่าจะไม่ชกด้วยมือเปล่า อีกต่อไป ในปี ค.ศ. 1914 มี 5 รัฐ ในอเมริกา คือ นิวยอร์ค แคลิฟอร์เนีย หลุยส์เซียน่า เนวาด้า และฟอริดา ได้ตกลงแบ่งจำนวนออกเป็น 20 ยกเหมือนกัน ในปีนี้รัฐบาลกลางได้ตรากฎหมายควบคุมในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้แบ่งการชกเหลือเพียง 4 ยก ในปี 1915 ระหว่างปี ค.ศ. 1915 – 1930 นับว่าเป็นระยะการชกมวยในสหรัฐอเมริการุ่งเรืองถึงขีดสุด มลรัฐนิวยอร์ค และมลรัฐวิสคอนซิล ได้ตรากฎหมายควบคุมในตอนนี้ มีกฎหมายควบคุมการชกมวยในมลรัฐต่างๆ เป็นจำนวนมากทั้งสิ้น 44 มลรัฐ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการฝึกซ้อมมวยกันในกองทัพเพื่อฝึกให้ทหารมีจิตใจกล้าหาญเพื่อการสู้รบในยามสงคราม ฝึกให้มีสมรรถภาพทางกาย หูตาไว การทรงตัวดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมตนเองในเวลาเข้าต่อสู้ และเหนือสิ่งอื่นใดก็ฝึกให้เป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มวยสากลจึงเป็นกิจกรรมที่นิยมกันในกองทัพทหารตลอดมา มวยสากลเข้าสู่สถานศึกษาครั้งแรกในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาจูเสตด์ เริ่มศึกษากันอย่างจริงจังในระหว่างปี ค.ศ. 1886 – 1919 และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างเต็มที่ถึงกับได้ตั้งสถาบันสำหรับฝึกหัดมวยขึ้นโดยเฉพาะอีกแห่งหนึ่ง ผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมากในปี ค.ศ.1920 ได้บรรจุวิชามวยสากลเข้าในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ ทำให้กิจกรรมมวยสากลได้แพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมวยสากลซึ่งได้กำหนดไว้ในวิชาพลศึกษาในโรงเรียนต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกได้ขยายตัวมากขึ้นเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกเป็นศิลปะแห่งการต่อสู้ป้องกันตัวและทำการแข่งขันระหว่างโรงเรียนประจำ อันเป็นทางหนึ่งที่ผลิตนักมวยสากลให้แก่สมาคมมวยสมัครเล่นและมวยสากลอาชีพต่อไป


@ ยกน้ำหนัก

ประวัติกีฬายกน้ำหนัก


กีฬายกน้ำหนักในยุคเริ่มต้นไม่ได้เป็นกีฬาอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน สังคมในยุคโบราณ จะมีเรื่องราวของการท้าทาย การต่อสู้ หรือการแข่งขันของกลุ่มชนเผ่าเดียวกัน หรือต่างเผ่า ซึ่งดูเป็นเรื่องปกติ ทั่วไป คนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ต่างพยายามแสดงออกถึงความสมบูรณ์แข็งแรงของตนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นความพยายามที่ต้องการแสดงออกว่าใครแข็งแรงกว่ากัน วิธีการวัดความแข็งแรงในสมัยนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การแบกลูกวัว การยกถุงทราย การยกหิน หรือการยกเหล็ก เป็นต้น รูปแบบวิธีวัดความแข็งแรงของร่างกายในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้พัฒนารูปแบบท่าทางในการยกที่แตกต่างกันออกไป
จากบันทึกในตำนานของกรีก สามารถยืนยันได้ถึงการแข่งขันความแข็งแรงของคนในสมัยโบราณว่า ผู้ที่แข็งแรงที่สุดในสมัยนั้น คือ มิโลแห่งโครตัน (Milo of Croton) ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถชนะการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิคโบราณถึงหกครั้งด้วยกัน มิโลแห่งโครตันมีวิธีการฝึกให้คนมีความแข็งแรงด้วยการแบกลูกวัวไว้บนบ่า เมื่อลูกวัวโตและมีน้ำหนักมากขึ้นก็จะทำให้มิโลแห่งโครตันมีพละกำลังมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าประมาณต้นศตวรรษที่สิบเก้าในทวีปยุโรปได้มีกองคาราวานของละครสัตว์ตระเวนไปค้าขายแข่งขันหาคนที่แข็งแรงด้วยการยกของหนัก ๆ ตามชุมชนต่าง ๆ โดยใช้ดัมเบล (Dumb-bells) ที่มีคานยาวและมีตุ้มน้ำหนักติดแน่น การที่คณะละครสัตว์ตระเวนไปแข่งขันตามชุมชนต่าง ๆ แสดงว่าในแต่ละชุมชนนั้น มีคนที่สนใจในด้านนี้อยู่เสมอ การยกน้ำหนักจำนวนมาก ๆ นั้นจำกัดเฉพาะพวกที่ห้าวหาญ และได้รับความนิยมในกลุ่มของนักแสดง นักกายกรรมในคณะละครสัตว์เท่านั้น (Ford Movis. n.d.: 217-219)

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์การแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ ไม่มีการแข่งขันกีฬาใดที่จะมี ประวัติศาสตร์อันยาวนานเท่ากับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคชาวกรีก ( กรีซ) เป็นประเทศแรกที่จัดการแข่งขันขึ้น เมื่อก่อนคริสตกาล การแข่งขันได้ดำเนินเรื่อยมาจนถึงพระเจ้าจักรพรรดิโรมัน ทรงพระนามว่า ซีโอโดซิอุส (Theodosius) ได้มีกระแสรับสั่งให้ระงับการแข่งขันเมื่อปี ค. ศ. 392 กีฬาโอลิมปิคถือว่าเป็นกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในสมัยกรีกโบราณที่จัดขึ้นทุกสี่ปีเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทพเจ้าซีอุส (Zeus) ( วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2537 : 554)
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณและ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพราะทั้งสองประเทศเป็นอาณาจักรที่เรืองอำนาจที่สุดในโลก ในขณะนั้นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่า เริ่มการแข่งขันเมื่อ 76 ปี ก่อนคริสตกาลเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ ในครั้งนั้นได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากพระเจ้าคลิโฮสเชเนส กษัตริย์แห่งเมืองปิซา พระเจ้าลิเคอร์กุส กษัตริย์แห่งสปาร์ตา และพระเจ้าอิฟิตุส กษัตริย์แห่งเมืองเอลิส หลายศตวรรษต่อมาได้เริ่มมีการพัฒนาการแข่งขันยิ่งขึ้น โดยได้เริ่มการเขียนกฎเกณฑ์การแข่งขันขึ้น เพื่อจะควบคุมการแข่งขันนั้นให้เกิดเป็นระเบียบ มีความยุติธรรม เช่น การขว้างจักร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการมีพลังแข็งแกร่ง อดทน และแข็งแรงในยุคนั้น บุคคลใดสามารถขว้างจักรได้ไกลที่สุด ย่อมได้รับยกย่องให้เป็นนักกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศนั้น ( จรินทร์ ธานีรัตน์ 2511 : 4)
ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งแรกมีกีฬาประเภทใดบ้าง นอกจากการแข่งขันวิ่งที่จัดให้มีการแข่งขันขึ้น ต่อมาก็จัดให้มีการแข่งขันมวยปล้ำ การกระโดดและกีฬามวย การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ประเทศกรีก ( กรีซ) ได้พัฒนาและเจริญรุ่งโรจน์ถึงขีดสูงสุดเมื่อ 464 ปี ก่อนคริสตกาล ในขณะนั้นประเทศกรีก ( กรีซ) ได้รวมประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว และทุก ๆ เมือง ทุก ๆ ท้องถิ่น ต่างมีความประสงค์อย่างยิ่งที่จะมีแชมป์เปี้ยนโอลิมปิคในเมืองของตน การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคได้ดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งมาหยุดชะงักลงเมื่อปี พ. ศ. 2459 ( ค. ศ.1916) อันเนื่องมาจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็นอุปสรรคสำคัญในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค
ประวัติการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักในประเทศกรีก ( กรีซ) เริ่มขึ้นเมื่อ พ. ศ.2439 ( ค. ศ.1896)เป็นครั้งแรก จัดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ ประเทศเจ้าภาพได้รับเหรียญจากการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักเพียง 2 เหรียญทองแดง ( เหรียญบรอนซ์) สำหรับสหพันธ์ยกน้ำหนักของประเทศกรีซ มีชื่อเรียกว่า Hellenic Weightlifting Federation : HWF . ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ. ศ.2515 ( ค. ศ. 1972) โดยรวมอยู่กับสหพันธ์มวยปล้ำ
การแข่งขันกีฬายกน้ำหนักในรูปแบบปัจจุบันที่ใช้บาร์เบล เริ่มในศตวรรษที่ 19 ในยุโรปตะวันตก เป็นการแสดงของบุรุษผู้ทรงพลังในโรงละครสัตว์และโรงแสดงการดนตรี เมื่อปี พ . ศ.2448 ( ค. ศ.1905) นี้เองถือว่า เป็นปีเริ่มต้นที่ก่อตั้งสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรก แต่การแข่งขันก็ขาดช่วงไปหลายปี จนกระทั่งปี พ. ศ.2463 ( ค. ศ.1920) การแข่งขันกีฬายกน้ำหนักก็ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ โดยได้บรรจุเข้าในการ แข่งขันกีฬาโอลิมปิคอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งถึงปัจจุบันกฎเกณฑ์การแข่งขันกีฬายกน้ำหนักในระยะแรกอยู่ภายใต้Federation International High Committee : FIHC. ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (International Weightlifting Federation : IWF) โดยมีศูนย์กลางหรือสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงบูคาเปสท์ ประเทศฮังการี
การแข่งขันกีฬายกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลกจัดขึ้นครั้งแรกที่เมืองพิคาดิลลี่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ. ศ. 2434 ( ค. ศ.1891) มี 2 ท่า คือ
1. ท่าเจอร์คมือเดียว (The Single hand of Jerk) 2. ท่าเจอร์คสองมือ (The two hands of Jerk)
ต่อมาคณะกรรมการโอลิมปิคสากลแนะนำให้มีการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก 4 ท่า คือ
1. ท่าสแนทช์มือเดียว (The single hand of Snatch)
2. ท่าคลีนแอนด์เจอร์คมือเดียว (The single hand of clean and Jerk)
3. ท่าสแนทช์สองมือ (The two hands of snatch)
4. ท่าคลีนแอนด์เจอร์คสองมือ (The two hands of clean and Jerk)
ระหว่างปี พ. ศ. 2471 ( ค. ศ. 1928) – พ. ศ. 2515 ( ค. ศ. 1972) คณะกรรมการสหพันธ์ ยกน้ำหนักนานาชาติได้พิจารณาลดจำนวนท่ายกให้เหลือเพียง 3 ท่า คือ
1. ท่าเพรสสองมือ (The two hands of Press)
2. ท่าสแนทช์สองมือ (The two hands of Snatch)
3. ท่าคลีนแอนด์เจอร์คสองมือ (The two hands of clean and Jerk)
ต่อมาในการประชุมสภาคองเกรสของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ ( ระหว่างประเทศ) ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งที่ 20 ณ เมืองมิวนิค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เมื่อปี พ. ศ.2515 ( ค. ศ.1972) มติของคณะกรรมการให้ยกเลิกท่าเพรสสองมือ เนื่องจากท่าดังกล่าวสร้างปัญหาให้แก่กรรมการตัดสินมาก และก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมในการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งที่ 20 พ. ศ.2515 ( ค. ศ.1972) จึงกำหนดให้มีท่ายกน้ำหนักในการแข่งขันเพียง 2 ท่า คือ
1. ท่าสแนทช์สองมือ (The two hands of Snatch)
2. ท่าคลีนแอนด์เจอร์คสองมือ (The two hands of clean and Jerk)

การกำหนดรุ่นในการแข่งขัน
เดิมในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก ณ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ. ศ. 2480 ( ค. ศ.1973) ได้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 5 รุ่น ดังนี้ รุ่น 60, 67.5, 75, 82.5 และน้ำหนักเกิน 82.5 กิโลกรัม แต่การแข่งขันที่เมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelpia) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ. ศ.2490 ( ค. ศ.1947) เจ้าภาพจัด ให้มีการแข่งขันชิงแชมป์ยกน้ำหนัก 6 รุ่น คือ รุ่น 56, 60, 67.5, 75, 82.5 และ 90 กิโลกรัม ต่อมามีการ จัดการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลกขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ . ศ. 2512 ( ค. ศ.1969) ณ เมืองวอร์ซอ (Warsaw) ประเทศโปแลนด์ เป็นการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลกที่เรียกว่า “Warsaw World champions” ได้จัดให้มีการแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิง โดยแบ่งการแข่งขันแต่ละประเภทออกเป็นรุ่นดังนี้ ประเภททีมชายแบ่งออกเป็น 10 รุ่น ได้แก่ รุ่น 52, 56, 60, 67.5, 75, 82.5, 90, 100, 110 และเกิน 110 กิโลกรัม สำหรับประเภททีมหญิง แบ่งออกเป็น 9 รุ่น ได้แก่ รุ่น 44, 48, 52, 56, 60, 67.5, 75, 82.5 และเกิน 82.5 กิโลกรัม ซึ่งได้ใช้รุ่นเหล่านี้ทำการแข่งขันตลอดมาจนถึงปี พ.ศ.2535 จึงได้ยกเลิก
ต่อมาในปี พ.ศ.2536 สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพิกัดรุ่นน้ำหนักของนักกีฬาเพื่อใช้ในการแข่งขันทั้งประเภทชายและหญิง ดังนี้ ประเภททีมชายแบ่งออกเป็น 10 รุ่นได้แก่ 54, 59, 64, 70, 76, 83, 91, 99, 108 และเกิน 108 กิโลกรัม สำหรับประเภททีมหญิงแบ่งออกเป็น 9 รุ่น ได้แก่ 46, 50, 54, 59, 64, 70, 76, 83 และเกิน 83 กิโลกรัม ซึ่งได้ใช้รุ่นเหล่านี้ ทำการแข่งขันตลอดมาจนถึงสิ้นปี พ.ศ.2540 จึงได้ประกาศยกเลิก
การแข่งขันกีฬายกน้ำหนักได้พัฒนาต่อไปอีกเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดการแข่งขันของแต่ละรุ่น เพื่อให้เกิดความยุติธรรม มิให้ได้เปรียบเสียเปรียบกันมากนัก กล่าวคือเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ. ศ.2540 ( ค. ศ.1997) นายกอดไฟร์ โชลด์ (Mr.Gottfried Schodl) ประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (IWF) และดร. ทามาส อายาน (DR. TAMAS AJAN) เลขาธิการสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติในขณะนั้น พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกอร์เรียกอส เวอร์วิดากิส (Prof.Kiriokos Virvidakis) ประธานกรรมาธิการ และนางคลา อัลวาเชส (MRS. Cla Alvaryz) กรรมาธิการ ประชุมกันที่เมืองโลซานน์ (Lausanne) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้เสนอ ต่อนายกิลเบอร์ท เฟลลี่ (MR.Gilbert Felli) ประธานโอลิมปิคสากล (IOC) ว่าการจัดการแข่งขันกีฬา ยกน้ำหนักควรจัดให้เป็นมาตรฐานเดียวกันให้เป็นระบบสากลเกี่ยวกับการแบ่งรุ่นดังต่อไปนี้
การแข่งขันประเภทชาย ให้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 8 รุ่น คือ
(1) รุ่น 56 กิโลกรัม
(2) รุ่น 62 กิโลกรัม
(3) รุ่น 69 กิโลกรัม
(4) รุ่น 77 กิโลกรัม
(5) รุ่น 85 กิโลกรัม
(6) รุ่น 94 กิโลกรัม
(7) รุ่น 105 กิโลกรัม
(8) รุ่น + 105 กิโลกรัม ( รุ่นน้ำหนักเกิน 105 กิโลกรัมขึ้นไป)
การแข่งขันประเภทหญิง แบ่งเป็น 7 รุ่น คือ
(1) รุ่น 48 กิโลกรัม
(2) รุ่น 53 กิโลกรัม
(3) รุ่น 58 กิโลกรัม
(4) รุ่น 63 กิโลกรัม
(5) รุ่น 69 กิโลกรัม
(6) รุ่น 75 กิโลกรัม
(7) รุ่น + 75 กิโลกรัม ( รุ่นน้ำหนักเกิน 75 กิโลกรัมขึ้นไป)
หลังจากการตกลงของคณะกรรมการบริหารสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (IWF) จึงให้ยึดถือการแบ่งรุ่นกันใหม่ดังกล่าว ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ. ศ. 2541 ( ค. ศ.1998) เป็นต้นไป ดังนั้นการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก และกีฬาโอลิมปิคในปัจจุบันจึงยึดถือแนวปฏิบัติการแบ่งน้ำหนักตัวผู้เข้า ทำการแข่งขันยกน้ำหนักตามมติของคณะกรรมการบริหารสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติหลังจากที่มีการประชุมสภาคองเกรส ณ เมืองเคปทาวน์ (The cape town) ประเทศอาฟริกาใต้
ส่วนคณะกรรมการของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (IWF) ในปัจจุบัน พ. ศ.2548-2551 ( ค. ศ.2005-2008) ประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (IWF) คือ ดร.ทามาส อายาน (DR.TAMAS AJAN) ชาวฮังกาเรียน ( ประเทศฮังการี) เลขาธิการคือ นายยานนิส สะกอร์ส (MR.Yannis Sgouros) ชาวกรีก ( ประเทศกรีช) ทั้งนี้ จากผลการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (IWF) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 มีนาคม 2548 ณ กรุงอิสตัลบูล ประเทศตุรกี และพลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย อดีตนายกสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติคนที่ 1
สำหรับกีฬายกน้ำหนัก ได้เริ่มเข้ามาแพร่หลายในทวีปเอเชีย และได้มีการประชุมจัดตั้งสหพันธ์ยกน้ำหนักเอเชียขึ้น เมื่อปี ค. ศ.1958 ที่ประเทศญี่ปุ่น มีประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักเอเชีย (Asian Weightlifting Federation = AWF) เป็นชาวอิหร่าน ชื่อ นายเอ เอ็ม บัคเทีย (A.M.Buctia) และเลขาธิการ คือนายเอ. นาเดอรี (A. Naderi) ดำรงตำแหน่งเมื่อปี ค. ศ.1958-1966 และประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักเอเชีย คนต่อมา คือ นายชูล เชียงลี (Cgoul Chiang-Li) ใน ปี ค. ศ. 1966-1970 และเมื่อมีการประชุมเลือกตั้งใหม่ นายสุชาติ สมิทธินันต์ ได้รับเลือกจากสมาชิกสหพันธ์ให้เป็นประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักเอเชีย ในปี ค . ศ.1970-1985 และ นายอิสเมล แดดโอดาซาเดซ (Ismeel Dadodasadez) ชาวอิหร่าน เป็นเลขาธิการ และเมื่อปี ค. ศ. 1993 พลตรีอินทรัตน์ ยอดบางเตย จากประเทศไทย ได้รับเลือกให้เป็นประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักเอเชีย ( รักษาการ ประธานสหพันธ์) โดยมีนายไมเคิล คอว์ย (Michael Koay Say Lean) ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2546 (ค.ศ.2003) สหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชีย (AWF) ได้จัดให้มีการประชุมสามัญประจำปี และมีมติเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารใหม่ ปรากฏว่า ประธานสหพันธ์ได้แก่ นายพวนเทเวลลา โมนิโก ชาวฟิลิปินส์ และนายโมราคี อาลี ชาวอิหร่าน เป็นเลขาธิการ ฯ สัญลักษณ์กีฬาโอลิมปิค
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ถือกันว่าเป็นการฟื้นฟูกีฬาโอลิมปิคสมัยใหม่ บารอน ปีแอร์ เดอคูแบร์แตง ชาวฝรั่งเศส แนะนำให้ใช้วงกลม 5 ห่วง โดยกำหนดให้มีสีน้ำเงิน สีเหลือง สีดำ สีเขียว และสีแดง ซึ่งหมายถึงการรวมสีธงชาติของทุกชาติ เพราะว่าธงชาติของทุกชาติในโลกนี้ย่อมจะมีสีใดสีหนึ่งอยู่ในห่วง วงกลมห่วงใดห่วงหนึ่ง ธงโอลิมปิคจึงเป็นการรวมสีธงชาติของชาวโลกทุกประเทศไว้ในธงผืนเดียวกัน นั่นหมายถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ธงโอลิมปิคได้โบกสะบัดครั้งแรกเมื่อปี พ. ศ. 2463 ( ค. ศ. 1920) ณ ประเทศเบลเยี่ยม